logo

ภาพข่าวกิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวและกิจกรรมประจำปี 2556

 

MU-CU SC Research Forum 1/2556

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2556 เวลา 13.30 – 16.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม MU-CU SC Research Forum โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำวิจัยระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา และเพื่อให้เกิดเครือข่ายงานวิจัยระหว่างสองสถาบัน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขนิษฐา พุดหอม ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายในหัวข้อเรื่อง “Anti-angiogenic metabolites from Thai medicinal plants and endophytic fungi” ได้เล่าถึงการศึกษาสารสกัดจากพืชสมุนไพรและพืชป่าชายเลนที่มีผลต่อการยับยั้งกระบวนการ angiogenesis ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานของการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยพบว่าในพืชสกุลพุด (Gardinia) มีสารกลุ่ม Diclopene ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์หลอดเลือดแดงของหนู  นอกจากนี้ ยังศึกษาสาร Metabolite จากเชื้อราที่แยกได้จากพืชป่าชายเลนต่อการยับยั้งการเจริญของเซลล์หลอดเลือดแดงอีกด้วย จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาทิตย์ ไชยร้องเดื่อ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อเรื่อง “Wining Wnt: Discovery of Wnt inhibitor and activator” ได้เล่าถึงกลไกของสารในการกระตุ้นและยังยั้ง Wnt/ß-catenin signaling pathway ซึ่งเป็นกลไกที่มีบทบาทสำคัญต่อควบคุมการเจริญของเซลล์ โดยทำการศึกษาสารสกัดกลุ่ม Phytoestrogen (สารประกอบ ASPP 049) จากว่านชักมดลูก พบว่าสารประกอบนี้สามารถกระตุ้น Wnt/ß-catenin signaling pathway ใน bone cell ทำให้เกิด bone cell differentiation สามารถลดการเกิดภาวะกระดูกพรุนในหนูทดลองที่ตัดรังไข่ได้ สารประกอบ ASPP 049 อาจนำไปใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการขาดเอสโตรเจน เช่น ในหญิงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ ยังศึกษาสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้ง Wnt/ß-catenin signaling  pathway ซึ่งมีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยศึกษาสารกลุ่ม xanthone ที่สกัดได้จากมังคุด และแครนเบอร์รี่ กลไก Wnt/ß-catenin signaling สามารถใช้เป็น target pathway ในการศึกษาหาสารที่สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้

                หลังจบกิจกรรมครั้งนี้นักวิจัยและผู้เข้าฟังบรรยายได้รับประทานอาหารว่างร่วมกันเพื่อสร้างบรรยากาศให้นักวิจัยมีความคุ้นเคยและเป็นกันเองมากยิ่งขึ้น โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากอาจารย์ทั้งจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก เป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 85 คน

ข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ :

          - ภาพจากงานวิจัย